วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

คำกลอนวันแม่

ครบเก้าเดือนอุ้มท้องเจ้าร้องไห้ ใคร?เจ็บเจียนขาดใจกลับไม่บ่น
เลือดทั้งกายกลั่นไหลเป็นสายปน รักเข้มข้นพันผูกให้ลูกยา

สัมผัสท้องอุ่นไอสายสัมพันธ์ เราพบกันอีกเก้าเดือนจะเยือนถึง
ประคองกอดลูบไล้ใจตราตรึง ห้วงคำนึงซึ้งนักแม่จักรอ...

จนผ่านวันผ่านเดือนหมุนเคลื่อนคล้อย เจ้าเด็กน้อยเริ่มมีแรงเริ่มแกร่งกล้า
ค่อยสอนเดินสอนทำสอนคำจา สอนวิชาเรียนรู้ไว้คู่ใจ

จากวันนั้นถึงวันนี้หลายปีผ่าน จนวันวารเปลี่ยนสู่วัยผู้ใหญ่
ส่งเรียนสูงศึกษามหาวิทยาลัย ได้อาศัยลูกแน่ยามแก่ชรา

สู้อาบเหงื่อต่างน้ำทำงานหนัก เพื่อลูกรักได้ผ่านการศึกษา
เล่าเรียนจบจนคว้าปริญญา แม่ภูมิใจลูกมีตราปัญญาชน

มีครอบครัวอยู่เย็นเป็นฝั่งฝา คงหมดภาระใจไม่หมองหม่น
ลูกคงมีความสุขไม่ทุกข์ทน แม่คนนี้ย่างเข้าแล้ววัยชรา...

นี่ใกล้ถึงวันแม่แล้วลูกรัก.. อยากทายทักถามไถ่ได้พบหน้า
สบายดีหรือเปล่าเจ้าลูกยา สื่อภาษาความรักจากหญิงนึง
มีรูปถ่ายเก่าเก่าคลายเหงาบ้าง มีไอ้ด่างข้างกายคลายคิดถึง ภาพลูกน้อยผ่านวัยให้รำพึง เงียบหายซึ่งข่าวคราวเจ้ากลอยใจ


นั่น...หญิงชรา
แลนัยน์ตาหม่นหมองอยากร้องไห้
ฝากสายลมแสงดาวกล่าววอนไป
ขอกลอยใจกลับคืนถิ่นก่อนสิ้นลม


ขอขอบคุณ กลอนวันแม่ : Thaipoem.com โดยคุณ ธันวันตรี

วันแม่แห่งชาติ

ทุกวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี

วันแม่แห่งชาติ หรือที่คนไทยทั่วไปนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า "วันแม่" ทุกคนรับทราบและซาบซึ้งกันดี เนื่องจากวันสำคัญนี้ตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถคือ วันที่ 12 สิงหาคม อันเป็นวันคล้ายวันเสด็จพระราชสมภพและถือว่าเป็นวันแม่ของชาติด้วย

แต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาไว้วันที่ 15 เมษายนของทุก ๆ ปี ทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรอง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2493 ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงาน วันแม่ มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2493 เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดี ด้วยประชาชนให้การสนับสนุนจนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างขวางออกไป มีการจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญวันแม่ การประกวดแม่ของชาติ เพื่อให้เกียรติและตระหนักในความสำคัญของแม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของวันแม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาลฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม แต่โดยทั่วไปเรียกกันว่าวันแม่ของชาติ
ต่อมาถึง พ.ศ.2519 ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ.2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
วันแม่แห่งชาติ เป็นวันที่ทางราชการกำหนดในวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี และถือว่าเป็นวันสำคัญยิ่งของปวงชนชาวไทย โดยกำหนดให้ถือว่า "ดอกมะลิ" สีขาวบริสุทธิ์เป็นสัญลักษณ์ของความดีงามของแม่ผู้ให้กำเนิดแก่เรา

กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ

ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน
จัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ
จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่
นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่


วันแม่ในประเทศต่าง ๆ

อาทิตย์ที่สองของเดือนกุมภาพันธ์ นอร์เวย์
8 มีนาคม บัลแกเรีย, แอลเบเนีย
อาทิตย์ที่สี่ในฤดูถือบวชเล็นท์ (มาเทอริง ซันเ ดย์) สหราชอาณาจักร, ไอร์แลนด์
21 มีนาคม (วันแรกของฤดูใบไม้ผลิ) จอร์แดน, ซีเรีย, เลบานอน, อียิปต์
อาทิตย์แรกของเดือนพฤษภาคม โปรตุเกส, ลิทัวเนีย, สเปน, แอฟริกาใต้, ฮังการี
8 พฤษภาคม เกาหลีใต้ (วันผู้ปกครอง)
10 พฤษภาคม กาตาร์, ซาอุดีอาระเบีย, ประเทศส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้, บาห์เรน, ปากีสถาน, มาเลเซีย, เม็กซิโก, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, อินเดีย, โอมาน
อาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคม แคนาดา, สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน), สาธารณรัฐประชาชนจีน, ญี่ปุ่น, เดนมาร์ก, ตุรกี, นิวซีแลนด์, เนเธอร์แลนด์, บราซิล, เบลเยียม, เปรู, ฟินแลนด์, มอลตา, เยอรมนี, ลัตเวีย, สโลวาเกีย, สิงคโปร์, สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, ออสเตรีย, อิตาลี, เอสโตเนีย, ฮ่องกง
26 พฤษภาคม โปแลนด์
27 พฤษภาคม โบลิเวีย
อาทิตย์ที่สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม สาธารณรัฐโดมินิกัน, สวีเดน
อาทิตย์แรกของเดือนมิถุนายนหรือ อาทิตย์ที่สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม ฝรั่งเศส
12 สิงหาคม ไทย (วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ)
15 สิงหาคม (วันอัสสัมชัญ) คอสตาริกา, แอนท์เวิร์ป (เบลเยียม)
อาทิตย์ที่สองหรือสามของเดือนตุลาคม อาร์เจนตินา (Día de la Madre)
28 พฤศจิกายน รัสเซีย
8 ธันวาคม ปานามา
22 ธันวาคม อินโดนีเซีย

แหล่งอ้างอิง :
หนังสือ วันสำคัญของไทย โดย สมเจตน์ มุทิตากุล

กระบวนการระเหย (Evaporation Process)

การระเหยเกิดขึ้นเมื่อน้ำเปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลายเป็นไอ การเปลี่ยนสถานะนี้ต้องใช้พลังงนจำนวนหนึ่ง
เรียกว่าความร้อยแฝงของการกลายเป็นไอ ( latent heat of vaporization ) ในธรรมชาติแหล่งพลังงานนี้ได้แก่รังสีแสงอาทิตย์

การวัดปริมาณการคายน้ำ ( Mesurement of Transpiration )
เนื่องจากไม่สามารถที่จะทำการวัดปริมาณการคายน้ำในพื้นที่จำนวนหนึ่งในธรรมชาติได้คำนวณหรือวัดปริมาณ
การคายน้ำจะจำกัดเฉพาะเกี่ยวกับตัวอย่างเล็กๆ หรือพืชไม่กี่ตันในห้องทดลองเท่านั้น การวัดปริมาณการคายน้ำ
ในห้องทดลองอาจกระทำได้ดังนี้
ก. ทำการปลูกพืชในกระถางซึ่งผิวดินทำการป้องกันการระเหยของน้ำจากดิน นำกระถางที่ปลูกพืชนี้ไปใส่ในภาชนะที่
ปิดทุกด้านไม่ให้ไอน้ำภายในออกไปหรือไม่ให้ไอน้ำจากภายนอกเข้ามาได้เมื่อทิ้งไว้ระยะหนึ่งก็ทำการวัดปริมาณไอน้ำ
ที่เพิ่มขึ้นภายในภาชนะ จำนวนไอน้ำที่เพิ่มขึ้นในภาชนะดังกล่าวก็คือปริมาณไอน้ำที่เกิดจากการคายน้ำนั่นเอง
ข. การวัดปริมาณการคายน้ำส่วนมากใช้เครื่องมือที่เรียกว่า phytometer ซึ่งประกอบด้วยภาชนะบรรจุดินและทำการปลูกพืช
ในภาชนะนี้ ทำการปกคลุมดินเพื่อให้ความชื้นในดินที่หายไปได้เฉพาะเกิดจากการคายน้ำของพืชเท่านั้น จำนวนปริมาณความชื้น
ที่หายไปก็คือ ค่าประมาณของการคายน้ำซึ่งหาได้จาการชั่งน้ำหนักพืชและภาชนะเป็นระยะๆ โดยการพรวนดินและเติมน้ำ
ลงไปในดินพร้อมกับทำการวัดหรือชั่งน้ำหนักดังกล่าวข้างต้น ก็ทำให้สามารถหาปริมาณการคายน้ำของพืชได้ตลอดอายุของพืช


การคายน้ำรวมการระเหย ( Evapotranspiration )

การคายระเหย เป็นคำที่กล่าวถึงน้ำที่ระเหยโดยรวมทั้งที่ผ่านพืช และจากพื้นผิวอื่น ๆ
- การคายน้ำ (transpiration) คือการที่พืชสูญเสียน้ำออกไปในรูปไอน้ำ น้ำที่ระเหยออกจากพืชส่วนใหญ่จะระเหย

สู่บรรยากาศทางปากใบ
- อัตราการคายน้ำ (transpiration ratio) เป็นอัตราส่วนระหว่างน้ำหนักของน้ำที่พืชใช้ทั้งหมดตลอดอายุของพืช ต่อ น้ำหนัก
ของวัตถุแห้งทั้งหมดของพืช
การคายน้ำรวมกับการระเหยเป็นแฟคเตอร์เดียวกันซึ่งเป็นปริมาณการระเหยทั้งหมด ได้แก่การระเหยจากผิวน้ำต่างๆ
จากดิน หิมะ พืชและพื้นผิวอื่นๆรวมกับการคายน้ำของพืช สำหรับการคายน้ำรวมการระเหยหรือ evapotranspiration นั้น
จะต่างกับการใช้น้ำของพืช (consumptive use) กล่าวคือ การใช้น้ำของพืชนอกจากจะรวมการระเหยทั้งหมดและการคายน้ำ
ของพืชแล้ว ยังรวมถึงจำนวนน้ำที่ใช้ในการสร้างเนื้อเยื่อของพืชโดยตรงอีกด้วย ถึงแม้ว่าในด้านวิชาการจะมีความหมาย
แตกต่างกัน แต่ในทางปฏิบัติแล้วความแตกต่างกันนี้แทบไม่มีความหมาย เมื่อเปรียบเทียบกับความคลาดเคลื่อน
อันเกิดจากการวัดดังนั้น โดยปกติจะพิจารณาการคายน้ำรวมการระเหยและการใช้น้ำของพืชเป็นเทอมเดียวกัน
ในการนำเอาการคายน้ำรวมการระเหยไปใช้ในการออกแบบระบบการชลประทาน เพื่อการส่งน้ำไปให้กับพืช
ในช่วงที่ขาดน้ำนั้น ส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับการคำนวณหาการคายน้ำรวมการระเหยสูงสุด (potential evapotranspiration)
และการใช้น้ำของพืช (consumptive use) คำว่าการคายน้ำรวมการระเหยสูงสุดซึ่งมีชื่อย่อว่า PET นั้นหมายถึง การคายน้ำ
รวมการระเหยที่เกิดขึ้น ในกรณีที่ความชื้นในดินมีให้กับพืชเต็มที่ตลอดเวลาถ้าหากความชื้นหรือน้ำที่มีให้กับดินน้อยกว่า
การคายน้ำรวมการระเหยสูงสุด น้ำก็จะถูกดึงออกจากดินจนความชื้นลดลงเรื่อยๆในกรณีนี้จะเป็นการคายน้ำรวมการระเหยจริง
หรือเรียกว่า actual evapotranspiration (AET) ซึ่งจะมีอัตราลดลงและต่ำกว่าการคายน้ำรวมการะเหยสูงสุดจนกระทั่งถึงจุดอับเฉา
การคายน้ำรวมการระเหยจริงก็จะหยุด
การวัดหรือการประมาณหาค่าการคายน้ำรวมการระเหยจริงและการคายน้ำรวมการระเหยสูงสุด กระทำได้หลายวิธี
ด้วยกัน และไม่มีวิธีใดวิธีหนึ่งโดยเฉพาะที่สามารถนำไปใช้ได้ดีในทุกๆ วัตถุประสงค์ดังนั้นประเภทของข้อมูลที่ใช้จะต้อง
ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่จะนำไปใช้ในการศึกษาทางด้านอุทกวิทยา บางกรณีอาจจะใช้ค่าการคายน้ำรวมการระเหยเฉลี่ยทั้งลุ่มน้ำ
แต่ในบางกรณีอื่นอาจจะสนใจเฉพาะการใช้น้ำของพืชบางชนิดในลุ่มน้ำหรือการเปลี่ยนแปลงการใช้น้ำของพืชเมื่อมี
การเปลี่ยนแปลงพืชที่ปกคลุมลุ่มน้ำ เป็นต้น
ที่มาhttp://pirun.ku.ac.th/~fengvwv/chotiga/Evaporation.html

โครงสร้างและการทำงานของระบบลำเลียงของพืช

โครงสร้างและการทำงานของระบบลำเลียงของพืชประกอบด้วยระบบเนื้อเยื่อท่อลำเลียง (vascular tissue system) ซึ่งเนื้อเยื่อในระบบนี้จะเชื่อมต่อกันตลอดทั้งลำต้นพืช โดยทำหน้าที่ลำเลียงน้ำ สารอนินทรีย์ สารอินทรีย์ และสารละลายที่พืชต้องการนำไปใช้ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายในเซลล์
ระบบเนื้อเยื่อท่อลำเลียงประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ (xylem) กับท่อลำเลียงอาหาร (phloem)

รูปแสดงภาคตัดขวางของลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่และใบเลี้ยงเดี่ยว

รูปแสดงภาคตัดขวางของรากพืชใบเลี้ยงคู่และใบเลี้ยงเดี่ยว

ท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ
ท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ (xylem) เป็นเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำและแร่ธาตุต่างๆ ทั้งสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ โดยท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุประกอบด้วยเซลล์ 4 ชนิด ดังนี้
1. เทรคีด (tracheid) เป็นเซลล์เดี่ยว มีรูปร่างเป็นทรงกระบอกยาว บริเวณปลายเซลล์แหลม เทรคีดทำหน้าที่เป็นท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุต่างๆ โดยจะลำเลียงน้ำและแร่ธาตุไปทางด้านข้างของลำต้นผ่านรูเล็กๆ (pit) เทรคีดมีผนังเซลล์ที่แข็งแรงจึงทำหน้าที่เป็นโครงสร้างค้ำจุนลำต้นพืช และผนังเซลล์มีลิกนิน (lignin) สะสมอยู่และมีรูเล็กๆ (pit) เพื่อทำให้ติดต่อกับเซลล์ข้างเคียงได้ เมื่อเซลล์เจริญเต็มที่จนกระทั่งตายไป ส่วนของไซโทพลาซึมและนิวเคลียสจะสลายไปด้วย ทำให้ส่วนตรงกลางของเซลล์เป็นช่องว่าง
ส่วนของเทรคีดนี้พบมากในพืชชั้นต่ำ (vascular plant) เช่น เฟิน สนเกี๊ยะ เป็นต้น
2. เวสเซล (vessel) เป็นเซลล์ที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ แต่สั้นกว่าเทรคีด เป็นเซลล์เดี่ยวๆ ที่ปลายทั้งสองข้างของเซลล์มีลักษณะคล้ายคมของสิ่ว ที่บริเวณด้านข้างและปลายของเซลล์มีรูพรุน
ส่วนของเวสเซลนี้พบมากในพืชชั้นสูงหรือพืชมีดอก ทำหน้าที่เป็นท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุต่างๆ จากรากขึ้นไปยังลำต้นและใบ
เทรคีดและเวสเซลเป็นเซลล์ที่มีสารลิกนินมาเกาะที่ผนังเซลล์เป็นจุดๆ โดยมีความหนาต่างกัน ทำให้เซลล์มีลวดลายแตกต่าง กันออกไปหลายแบบ ตัวอย่างเช่น
- annular thickening มีความหนาเป็นวงๆ คล้ายวงแหวน
- spiral thickening มีความหนาเป็นเกลียวคล้ายบันไดเวียน
- reticulate thickening มีความหนาเป็นจุดๆ ประสานกันไปมาไม่เป็นระเบียบคล้ายตาข่ายเล็กๆ
- scalariform thickening มีความหนาเป็นชั้นคล้ายขั้นบันได
- pitted thickening เป็นรูที่ผนังและเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ คล้ายขั้นบันได
3. ไซเล็มพาเรนไคมา (xylem parenchyma) มีรูปร่างเป็นทรงกระบอกหน้าตัดกลมรีหรือหน้าตัดหลายเหลี่ยม มีผนังเซลล์บางๆ เรียงตัวกันตามแนวลำต้นพืช เมื่อมีอายุมากขึ้นผนังเซลล์จะหนาขึ้นด้วย เนื่องจากมีสารลิกนิน (lignin) สะสมอยู่ และมีรูเล็กๆ (pit) เกิดขึ้นด้วย ไซเล็มพาเรนไคมาบางส่วนจะเรียงตัวกันตามแนวรัศมีของลำต้นพืช เพื่อทำหน้าที่ลำเลียงน้ำและแร่ธาตุต่างๆ ไปยังบริเวณด้านข้างของลำต้นพืช พาเรนไคมาทำหน้าที่สะสมอาหารประเภทแป้ง น้ำมัน และสารอินทรีย์อื่นๆ รวมทั้งทำหน้าที่ลำเลียงน้ำและแร่ธาตุต่างๆ ไปยังลำต้นและใบของพืช
4. ไซเล็มไฟเบอร์ (xylem fiber) เป็นเซลล์ที่มีรูปร่างยาว แต่สั้นกว่าไฟเบอร์ทั่วๆ ไป ตามปกติเซลล์มีลักษณะปลายแหลม มีผนังเซลล์หนากว่าไฟเบอร์ทั่วๆ ไป มีผนังกั้นเป็นห้องๆ ภายในเซลล์ ไซเล็มไฟเบอร์ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างค้ำจุนและให้ความแข็งแรงแก่ลำต้นพืช

รูปแสดงเนื้อเยื่อที่เป็นส่วนประกอบ
ของท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ

ท่อลำเลียงอาหาร
ท่อลำเลียงอาหาร (phloem) เป็นเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ลำเลียงอาหารและสร้างความแข็งแรงให้แก่ลำต้นพืช โดยท่อลำเลียงอาหารประกอบด้วยเซลล์ 4 ชนิด ดังนี้
1. ซีพทิวบ์เมมเบอร์ (sieve tube member) เป็นเซลล์ที่มีรูปร่างเป็นทรงกระบอกยาว เป็นเซลล์ที่มีชีวิต ประกอบด้วย ช่องว่างภายในเซลล์ (vacuole) ขนาดใหญ่มาก เมื่อเซลล์เจริญเติบโตเต็มที่แล้วส่วนของนิวเคลียสจะสลายไปโดยที่เซลล์ยังมีชีวิตอยู่ ผนังเซลล์ของซีพทิวบ์เมมเบอร์มีเซลลูโลส (cellulose) สะสมอยู่เล็กน้อย ซีพทิวบ์เมมเบอร์ทำหน้าที่เป็นทางส่งผ่านของอาหารที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช โดยส่งผ่านอาหารไปยังส่วนต่างๆ ของลำต้นพืช
2. คอมพาเนียนเซลล์ (companion cell) เป็นเซลล์พิเศษที่มีต้นกำเนิดมาจากเซลล์แม่เซลล์เดียวกันกับซีพทิวบ์-เมมเบอร์ โดยเซลล์ต้นกำเนิด 1 เซลล์จะแบ่งตัวตามยาวได้เซลล์ 2 เซลล์ โดยเซลล์หนึ่งมีขนาดใหญ่ อีกเซลล์หนึ่งมีขนาดเล็ก เซลล์ขนาดใหญ่จะเจริญเติบโตไปเป็นซีพทิวบ์เมมเบอร์ ส่วนเซลล์ขนาดเล็กจะเจริญเติบโตไปเป็นคอมพาเนียนเซลล์ คอมพาเนียนเซลล์เป็นเซลล์ขนาดเล็กที่มีรูปร่างผอมยาว มีลักษณะเป็นเหลี่ยม ส่วนปลายแหลม เป็นเซลล์ที่มีชีวิต มีไซโทพลาซึมที่มีองค์ประกอบของสารเข้มข้นมาก มีเซลลูโลสสะสมอยู่ที่ผนังเซลล์เล็กน้อย และมีรูเล็กๆ เพื่อใช้เชื่อมต่อกับซีพทิวบ์เมมเบอร์
คอมพาเนียนเซลล์ทำหน้าที่ช่วยเหลือซีพทิวบ์เมมเบอร์ให้ทำงานได้ดีขึ้นเมื่อเซลล์มีอายุมากขึ้น เนื่องจากเมื่อซีพทิวบ์เมมเบอร์มีอายุมากขึ้นนิวเคลียสจะสลายตัวไปทำให้ทำงานได้น้อยลง
3. โฟลเอ็มพาเรนไคมา (phloem parenchyma) เป็นเซลล์ที่มีชีวิต มีผนังเซลล์บาง มีรูเล็กๆ ที่ผนังเซลล์ โฟลเอ็มพาเรนไคมาทำหน้าที่สะสมอาหารที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ลำเลียงอาหารไปยังส่วนต่างๆ ของพืช และเสริมความแข็งแรงให้กับท่อลำเลียงอาหาร
4. โฟลเอ็มไฟเบอร์ (phloem fiber) มีลักษณะคล้ายกับไซเล็มไฟเบอร์ มีรูปร่างลักษณะยาว มีหน้าตัดกลมหรือรี โฟลเอ็มไฟเบอร์ทำหน้าที่ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับท่อลำเลียงอาหาร และทำหน้าที่สะสมอาหารให้แก่พืช


รูปแสดงเนื้อเยื่อที่เป็นส่วนประกอบของท่อลำเลียงอาหาร

การทำงานของระบบการลำเลียงสารของพืช
ระบบลำเลียงของพืชมีหลักการทำงานอยู่ 2 ประการ คือ
1. ลำเลียงน้ำและแร่ธาตุผ่านทางท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ (xylem) โดยลำเลียงจากรากขึ้นไปสู่ใบ เพื่อนำน้ำและแร่ธาตุไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
2. ลำเลียงอาหาร (น้ำตาลกลูโคส) ผ่านทางท่อลำเลียงอาหาร (phloem) โดยลำเลียงจากใบไปสู่ส่วนต่างๆ ของพืช เพื่อใช้ในการสร้างพลังงานของพืช
การลำเลียงสารของพืชมีความเกี่ยวข้องกับกระบวนต่างๆ อีกหลายกระบวนการ ซึ่งต้องทำงานประสานกันเพื่อให้การลำเลียงสารของพืชเป็นไปตามเป้าหมาย
ระบบลำเลียงของพืชเริ่มต้นที่ราก บริเวณขนราก (root hair) ซึ่งมีขนรากมากถึง 400 เส้นต่อพื้นที่ 1 ตารางมิลลิเมตร โดยขนรากจะดูดซึมน้ำโดยวิธีการที่เรียกว่า การออสโมซิส (osmosis) และวิธีการแพร่แบบอื่นๆ อีกหลายวิธี น้ำที่แพร่เข้ามาในพืชจะเคลื่อนที่ไปตามท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ (xylem) เพื่อลำเลียงต่อไปยังส่วนต่างๆ ของพืช
เมื่อน้ำและแร่ธาตุต่างๆ เคลื่อนที่ไปตามท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุและลำเลียงไปจนถึงใบ ใบก็จะนำน้ำและแร่ธาตุนี้ไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เมื่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงดำเนินไปเรื่อยๆ จนได้ผลิตภัณฑ์เป็นน้ำตาล น้ำตาลจะถูกลำเลียงผ่านทางท่อลำเลียงอาหาร (phloem) ไปตามส่วนต่างๆ เพื่อเป็นอาหารของพืช และลำเลียงน้ำตาลบางส่วนไปเก็บสะสมไว้ที่ใบ ราก และลำต้น

รูปแสดงระบบการลำเลียงสารของพืช

การแพร่ (diffusion) เป็นการเคลื่อนที่ของสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นมากกว่าไปสู่บริเวณที่มีความเข้มข้นน้อยกว่า
การออสโมซิส (osmosis) เป็นการแพร่ของน้ำจากบริเวณที่มีน้ำมากกว่า (สารละลายเจือจาง) ไปสู่บริเวณที่มีน้ำน้อยกว่า (สารละลายเข้มข้น)
การทำงานของระบบลำเลียงสารของพืชต้องใช้วิธีการแพร่หลายชนิด โดยมีท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ (xylem) และท่อลำเลียงอาหาร (phloem) เป็นเส้นทางในการลำเลียงสารไปยังลำต้น ใบ กิ่ง และก้านของพืช
http://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/07-6.JPG

การลำเลียงน้ำของพืช

การลำเลียงน้ำของพืช

พืชที่ไม่มีท่อลำเลียง เช่น มอส มักจะมีขนาดเล็กและเจริญในบริเวณที่มีความชื้นสูงมีร่มเงาเพียงพอ
เซลล์ทุกเซลล์ได้รับน้ำอย่างทั่วถึงโดยการแพร่จากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง ส่วนพืชที่มีขนาดใหญ่จะใช้วิธีการ
เช่นเดียวกับมอสไม่ได้ จำเป็นต้องมีท่อลำเลียงจากรากขึ้นไปเลี้ยงเซลล์ที่อยู่ปลายยอด

โดยปกติแล้วสารละลายภายในเซลล์ขนรากมีความเข้มข้นสูงกว่าภายนอก ดังนั้นน้ำในดินก็จะแพร่ผ่าน
เยื่อหุ้มเซลล์เข้าสู่เซลล์ที่ผิวของราก การเคลื่อนที่ของน้ำในดินเข้าสู่รากผ่านชั้นคอร์เทกซ์ของรากไปจนถึงชั้น
เอนโดเดอร์มิสได้โดยน้ำจะผ่านจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งทางผนังเซลล์หรือผ่านทางช่องว่างระหว่างเซลล์
์เรียกเส้นทางของการเคลื่อนที่แบบนี้ว่า อโพพลาส (apoplast) ส่วนการเคลื่อนที่ของน้ำผ่านเซลล์หนึ่งสู่เซลล์หนึ่ง
ทางไซโทพลาซึม ที่เรียกว่าพลาสโมเดสมาเข้าไปในเซลล์เอนโดเดอร์มิส ก่อนเข้าสู่ไซเลมเรียกการเคลื่อนที่แบบนี้ว่า
ซิมพลาส (symplast) เมื่อน้ำเคลื่อนที่มาถึงผนังเซลล์เอนโดเดอร์มิสที่มีแคสพาเรียนสตริพกั้นอยู่ แคสพาเรียนสติพ
ป้องกันไม่ให้น้ำผ่านผนังเซลล์เข้าไปในไซเลม ดังนั้นน้ำจึงต้องผ่านทางไซโทพลาซึมจึงจะเข้าไปในไซเลมได้

ถ้าลองตัดลำต้นของพืชบางชนิด เช่น มะเขือเทศ พุทธรักษา หรือกล้วยที่ปลูกในที่มีน้ำชุ่มให้เหลือลำต้นสูง
จากพื้นดินประมาณ 4-5 เซนติเมตร แล้วสังเกตตรงบริเวณรอยตัดของลำต้น ส่วนที่ติดกับรากจะเห็นของเหลว
ซึมออกมา เนื่องจากในไซเลมของรากมีแรงดัน เรียกว่า แรงดันราก (root pressure) การเคลื่อนที่ของน้ำเข้าสู่ไซเลม
ของรากทำให้เกิดแรงดันขึ้นในไซเลม ในพืชที่ได้รับน้ำอย่างพอเพียงและอยู่ในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง เช่น
เวลากลางคืน หรือเช้าตรู่ แรงดันรากมีประโยชน์ในการช่วยละลายฟองอากาศในไซเลมที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลา
กลางวัน แต่ในสภาพอากาศร้อนและแห้งในเวลากลางวันพืชมีการคายน้ำมากขึ้นจะเกิดแรงดึงของน้ำในท่อไซเลมทำให้
ไม่พบแรงดันราก การสูญเสียน้ำจากใบโดยการคายน้ำเกิดขึ้นเนื่องจากความแตกต่างระหว่างปริมาณไอน้ำในบรรยากาศ
และไอน้ำในช่องว่างภายในใบ การลำเลียงน้ำในท่อไซเลมนั้นเกิดขึ้นเนื่องจากมีแรงดึงน้ำที่อยู่ในท่อไซเลมให้ขึ้นมา
ทดแทนน้ำที่พืชคายออกสู่บรรยากาศ แรงดึงนี้จะถูกถ่ายทอดไปยังรากทำให้รากดึงน้ำจากดินเข้ามาในท่อไซเลมได้เนื่อง
จากน้ำมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของน้ำด้วยกันเอง เรียกว่า โคฮีชัน (cohetion) สามารถที่จะดึงน้ำเข้ามาในท่อไซเลม
ได้โดยไม่ขาดตอน นอกจากนี้ยังมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของน้ำกับผนังของท่อไซเลม เรียกว่า แอดฮีชัน (adhesion) เมื่อพืชคายน้ำมากจะทำให้น้ำระเหยออกไปมากด้วย ดังนั้นน้ำในไซเลมจึงสามารถเคลื่อนที่และส่งต่อไปยัง
ส่วนต่างๆของพืชได้ ไม่ว่าจะเป็นลำต้น ใบ หรือยอด รากก็จะเกิดแรงดึงน้ำจากดินเข้าสู่ท่อไซเลมได้ แรงดึงเนื่องจากการ
สูญเสียน้ำนี้เรียกว่า แรงดึงจากการคายน้ำ (transpiration pull)
ที่มาhttp://nd-biology.tripod.com/mysite/nd_biology_08.html

การปรับตัวของสิ่งมีชีวิต

สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศหนึ่งสามารถ ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้
การปรับตัวของสิ่งมีชีวิต หมายถึง สภาพที่สัตว์ พืช ปรับทั้งรูปร่าง พฤติกรรม และสรีระภายในร่างกายหรืออย่างไดอย่างหนึ่ง ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมเพื่อสามารถดำรงชีวิตอยางเป็นปกติสุข
การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตมี 2 ประเภท
1. การปรับตัวชั่วคราว เป็นการปรับตัวในเวลาสั้นๆ และเปลี่ยนกลับไปกลับมาได้ ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ง่าย ตัวอย่างเช่น

พืช
1. พืชเบนเข้าหาแสง
2. พืชมีลำต้นสูงชะลูดเพื่อให้ได้แสง และอากาศเต็มที่
3. พืชมีลักษณะเป็นพุ่มเมื่ออยู่กลางแจ้ง

สัตว์
1. จิ้งจกปรับตัวเข้ากับผนังบ้านหรือผนังตึก
2. กบ เขียด เก็บตัวนิ่งเวลาขาดแคลนอาหาร

2. การปรับตัวถาวร เป็นการปรับตัวที่มีการเปลี่ยนแปลงภายใน ที่สามารถถ่ายทอดลักษณะที่เปลี่ยนแปลง อาจเป็น ลักษณะรูปร่าง โครงสร้างภายในไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานได้ ใช้เวลานานและมองไม่เห็นเหมือนกับการปรับตัวชั่วคราว ตัวอย่างเช่น
พืช
1. กระบองเพชรเปลี่ยนเป็นหนามเอลดการระเหยของน้ำ
2. ผักตบชวามีลำต้นพองเพื่อเป็นทุ่น
3. ผักกะเฉดมีนวมสีขาวหุ้มลำต้นเพื่อให้ลอยน้ำได้
4. พืชในที่แห้งแล้งบางชนิด มีรากยาวหยั่งลงดินเพื่อดูดน้ำ
5. สาหร่ายหางกระรอกมีใบเรียวเล็ก ลำต้นเรียวยาว เพื่อลดแรงต้านทานของกระแสน้ำ

สัตว์
1. ตั๊กแตน ปรับตัวและสีเหมือนใบไม้ และกิ่งไม้
2. ตัวอ่อนของแมลงปรับสีกลมกลืนกับกิ่งไม้ ใบไม้
3. งูเขียว กิ้งก่า ปรับสีกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม
4. สัตว์ปีกมีปากชนิดต่างๆ เหมาะกับการกินอาหาร เช่น เหยี่ยวปากแหลมคม เป็ดปากแบน
5.สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีขน หรือหนังหนา เพื่อป้องกันความร้อนออกจากร่างกาย
6. สัตว์เลื้อยคลานมีเกล็ดเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำเมื่ออยู่ในที่แห้งแล้ง
สาเหตุที่ทำให้สัตว์ป่าบางชนิดสูญพันธ์ หรือลดจำนวนลง
1. ภัยธรรมชาติ เช่น วาตภัย แห้งแล้ง โรคระบาด
2.ขนาดรูปร่างใหญ่เกินไป เคลื่อนไหวช้า ทำให้หลบศัตรูไม่ทัน และหาอาหารยาก
3. ลักษณะ เขา มีขนาดใหญ่เกะกะ หลบศัตรูไม่ทัน
4. สภาพที่อยู่อาศัย ทำให้ถูกล่าง่าย
5. ใช้เวลาตั้งท้องนาน และออกลูกครั้งละน้อยตัว
6. การกระทำของมนุษย์ ล่าเป็นอาหาร เครื่องประดับ และเพื่อเป็นเกมกีฬา

2. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ

คือ การขยายพันธุ์พืชโดยใช้ส่วนต่างๆ ของพืชเพื่อให้ได้พืชต้นใหม่ เช่น การปักชำ การตอน การติดตาและการทาบกิ่ง พืชต้นใหม่จะมีลักษณะเหมือนต้นเดิม ระยะเวลาปลูกเพื่อให้ออกดอกผลเร็วกว่าการเพาะต้นใหม่จากเมล็ด ไม้ผลนิยมขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการติดตา การทาบกิ่ง และการต่อกิ่ง เนื่องจากสามารถเลือกต้นตอที่แข็งแรงได้และมีรากแก้ว ปัจจุบันการขยายพันธุ์สำหรับพืชเศรษฐกิจ เช่น กล้วยไม้ ไม้สัก นิยมขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นวิธีขยายพันธุ์ที่ให้พืชจำนวนมากที่สุดในเวลาสั้น และไม่กลายพันธุ์ วิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อทำได้โดยการนำเนื้อเยื่อส่วนใดก็ได้ของพืชไปเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ ซึ่งต้องทำให้สภาพที่ปลอดเชื้อ เนื้อเยื่อจะแบ่งเซลล์เพิ่มจำนวนเซลล์ขึ้นมากมาย และเกิดต้นใหม่เล็กๆ ขึ้น ซึ่งนำไปปลูกต้นใหม่จำนวนมากมาย
ลักษณะการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศมีหลายชนิดดังนี้
1. ใช้ส่วนต่างๆ ของพืชมาเพาะพันธุ์และปักชำแทนการเพาะด้วยเมล็ด
ก. ลำต้นใต้ดิน เช่น ขมิ้นขาว มันฝรั่ง ขิง
ข. ลำต้นที่เป็นกิ่งโดยการปักชำ เช่น พลูด่าง มันสำปะหลัง ชบา โกสน
ค. ใช้ใบมาเพาะ เช่น ต้นตายใบเป็น กุหลาบหิน
ง. ใช้ราก เช่น มันเทศ หัวผักกาด เง่ากระชาย
จ. ใช้หน่อ เช่น กล้วย กล้วยไม้
2. ใช้การตอนกิ่ง การติดตา การทาบกิ่ง
3. ใช้การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หมายถึง การเอาชิ้นส่วนของพืชมาเพาะเลี้ยงในอาหารและฮอร์โมนที่เหมาะสม ทำให้งอกเป็นต้นขึ้นได้ ชิ้นส่วนที่นำมาเพาะเลี้ยงได้ เช่น ตา เมล็ดอ่อน ลำต้น อับละอองเรณู เนื้อเยื่อลำเลียง ใบ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อทำได้ในพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด ในไม้ดอก เช่น กล้วยไม้ บอนสี หน้าวัว ในผลไม้เช่น กล้วย สับปะรด และในพืชอื่นๆ เช่น สัก ไผ่ เป็นต้น ลูกผสมของพืชใหม่เกิดขึ้นจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อก็มี เช่น นำมะเขือเทศ (tomato) มารวมกับมันฝรั่ง (potato) เกิดพืชใหม่ชื่อ โปมาโท (pomato) ซึ่งมีผลเป็นมะเขือเทศ มีหัวเป็นมันฝรั่ง ขณะนี้กำลังมีการวิจัยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแครอทกับกบ ซึ่งเป็นสัตว์และพืชผสมกันอยู่